วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาหารไทย 4 ภาค

อาหารไทย 4 ภาค


                 อาหารไทยมีชื่อเสียงขจรขจายไกลไปทั่วโลก  ด้วยสีสรรสวยงามตาม
ธรรมชาติ  รสชาติที่กลมกล่อมมีความหวาน เปรี้ยว  เค็มได้ที่  และเผ็ด พอประมาณ
อาหารไทยมากมายหลายชนิด มีการผสมผสานเครื่องปรุง และเครื่องเทศต่างๆ
ของเอเชียเข้าไว้ด้วยกัน  ส่วนในการเพิ่มรสชาติของอาหาร   มีการใช้ทั้งน้ำผลไม้  เช่น  น้ำมะนาว  น้ำมะขาม  และอื่นๆ

           น้ำปลา   น้ำตาลปีบ  กะปิ  น้ำมันหอยช่วยทำให้อาหารมีความกลมกล่อม
มากยิ่งขึ้นส่วนผสมของกะทิที่ปรุงร่วมกับเครื่องแกงต่างๆ ทำให้อาหารไทยมีความ
โดดเด่นในรสชาติ  แตกต่างจากอาหารชาติอื่นๆ และนอกจากนั้น วัฒนธรรมการตกแต่ง
อาหาร  ให้วิจิตรสวยงาม ด้วยศิลปะการแกะสลักผักและผลไม้แสดงออกถึงความ
ประณีตในการรับประทานอาหารของชนชาติไทย


เครื่องเทศ ที่ใช้ในการประกอบอาหารไทยเป็นสมุนไพร
ล้วนๆ ได้แก่   ขิง
ข่า ตะไคร้  มะกรูด  กระชาย หอม
กระเทียม ฯ อาหารไทยจึงเป็นที่ยอมรับ
กันว่าเป็นอาหาร
                 
                  "เพื่อสุขภาพ"  อย่างแท้จริง  
      
เครื่องเทศ

          ภาคกลาง.....ป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำ
ลำธารหลายสายไหลผ่าน ข้าวปลาอาหารจึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดปี   รวมทั้งมีพืช
ผัก ผลไม้ นานาชนิด   นอกจากนี้ภาคกลางยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงมานับหลาย
ร้อยปี   ตั้งแต่สมัยอยุธยา   เรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันจึงเป็นศูนย
รวมของวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าขาย 
ข้าวไทย  และติดต่อกับต่างประเทศ  มีแขกบ้านแขกเมือง
ไปมาหาสู่อยู่ตลอดเวลาและที่สำคัญที่สุดเป็น
ที่ประทับของในหลวงในรัชกาลต่าง ๆ มีเจ้านาย
หลายพระองค์รวมทั้งแวดวงชาววัง ซึ่งต่างก็
มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์อาหารที่เป็น
แบบฉบับของคนภาคกลาง จึงทำให้รสชาติ
ของอาหารภาคนี้ไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่ง
โดยเฉพาะคือมีรส  เค็ม  เผ็ด  เปรี้ยว  หวาน

คลุกเคล้าไปตามชนิดต่าง ๆ ของอาหาร

นอกจากนี้มักจะใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส   เช่น พวกเครื่องเทศต่าง ๆ   ใช้กะทิ
เป็นส่วนประกอบของอาหารมากชนิด

          
อาหารภาคอีสาน  (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)......   มีรสชาติเด่น คือ  รสเค็มจาก
น้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสด พริกแห้ง รสเปรี้ยวจากผักพื้นบ้าน  เช่น  มะขาม  มะกอก  
อาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแห้ง ข้น มีน้ำขลุกขลิก แต่ไม่ชอบใส่กะทิ   คนอีสานใช้ปลาร้า
เป็นเครื่องปรุงอาหารแทบทุกชนิด  เช่นซุปหน่อไม้  อ่อม  หมก  น้ำพริกต่าง ๆ  รวมทั้งส้มตำ


         อาหารอีสานที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย    ได้แก่ ปลาร้าบอง อุดมด้วย พืชสมุนไพร เช่น    ข่า
ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ใบมะกรูด มะขามเปียก
หรืออย่างแกงอ่อม   ที่เน้นการใช้ผักหลายชนิด
ตามฤดูกาลเป็นหลัก  รสชาติของแกงอ่อมจึงออก

รสหวานของผักต่าง ๆ รสเผ็ดของพริกกลิ่นหอมของ
เครื่องเทศ และ ผักชีลาว  หรืออย่างต้มแซบที่มี
น้ำแกงอันอุดมด้วยรสชาติและกลิ่นหอมของของ
ปลาร้าบอง

เครื่องเทศและผักสมุนไพรเช่นกันคนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหาร
หลักและโดยทั่วไปจะนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวดหวด  คือภาชนะที่เป็นรูปกรวย  ทำด้วยไม้ไผ่
ซึ่งจะต้องใช้คู่กับหม้อทรงกระบอก


          อาหารภาคเหนือ......   ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด  ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร
ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ   เช่น  ผัก   ปลา   และนิยมใช้ถั่วเน่า
ในการปรุงอาหารคนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง
ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง


ขนมจีนน้ำเงี้ยว ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่  ขนมจีนน้ำเงี้ยว   
ที่มีเครื่องปรุงสำคัญขาดไม่ได้คือ   ดอกงิ้ว  ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง  ถือเป็นเครื่องเทศ
พื้นบ้านที่มีกลิ่นหอม  หรืออย่างตำขนุน
แกงขนุน  ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น   เช่น
ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม
                   

          ภาคใต้.....   เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด   ลักษณะภูมิประเทศ  
เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเลผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง

เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเลอาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล
อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล

         อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต
 มักเกี่ยวข้องกับปลาและสิ่งอื่น ๆจากท้องทะเล
อาหารทะเลหรือปลาโดยธรรมชาติจะมีกลิ่น
คาวจัด  อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ    
ภาคใต้
โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลยเพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น แกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด
ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น    และมองในอีกด้านหนึ่งคงเป็น
วัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่าง
ชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม
ในภาคใต้นั่นเอง

         เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆอย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วย
เพื่อลดความเผ็ดร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่าผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่างบางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับ ภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้
เท่านั้นการเสิร์ฟผักเหนาะ  กับอาหารปักษ์ใต้  ชนิดของผักจะคล้าย ๆ กันหรืออาจเป็นผัก
ที่ผู้รับประทานชอบก็ได้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น