วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แนะนำอาหารไทย

แนะนำอาหารไทย
 
      อาหารไทยเป็นศาสตร์และศิลปะที่ละเอียดอ่อนทั้งอาหารคาวหวานล้วนมีสูตรการปรุงเฉพาะตัวส่วนใหญ่สูตรการปรุงและเคล็ดลับต่างๆ มักจะถูกส่งต่อในเครือญาติจากรุ่นสู่รุ่นและการปรุงรสอาหารที่ดึงจุดเด่นของส่วนประกอบในแต่ละเมนู อาหารไทยจึงไม่เพียงถูกปากคนไทยแต่ยังถูกใจผู้คนไปทั่วโลก
อาหารไทยเป็นอาหารประจำของชนชาติไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย ขณะที่อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่าย โดยอาศัยพืชผักหรือเครื่องประกอบอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบทอดวิธีปรุงและการรับประทานต่อๆ กันมา
จุดกำเนิดอาหารไทย อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาของ อาจารย์กอบแก้ว นาจพินิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนดุสิต เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ ดังนี้ ต้มยำกุ้ง
ต้มยำกุ้ง

   สมัยสุโขทัย จากหลักฐานศิลาจากรึกและวรรณคดีโบราณกล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่ามีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับข้าวส่วนใหญ่ได้มาจากปลา ผักและเนื้อสัตว์ต่างๆ ส่วนอาหารหวานใช้วัตถุดิบพื้นบ้านและผลไม้แทนอาหารหวาน
    สมัยอยุธยา เป็นยุคทองของประเทศไทย มีการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างประเทศทั้งตะวันตกและตะวันออก คนไทยยังกินอาหารแบบเรียบง่าย คาดว่ามีการใช้น้ำมัน ในการประกอบอาหารซึ่งเป็นน้ำมันจากมะพร้าวและเริ่มมีการถนอมอาหารโดยการตากแห้งหรือทำปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้มเช่นน้ำพริกกะปิ มีการใช้ เครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ เพื่อดับกลิ่นคาวอาหารประเภทเนื้อสัตว์
อาหารไทยในสมัยอยุธยาได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆ อาทิเช่น เช่นญี่ปุ่น โปรตุเกส เปอร์เซียและจีนในช่วงปลายสมัยอยุธยา และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลาย อยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชนและกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด
   สมัยธนบุรี อาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2 ของไทย ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ ผัดไทย
ผัดไทย

  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นรัชการตั้งแต่สมัยรัชการที่ 1 ถึง รัชการที่ 4 อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรี แต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งประเภท คือ นอกจากมีอาหารคาว อาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้นและยังคงได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนโดยสังเกตุจากมีการใช้หมูเป็นส่วนประกอบแล้วยังมีอาหารที่ปรุง ด้วยเครื่องเทศแบบอิสลามและถือว่าเป็นยุคสมัยที่มีศิลปะการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดทั้งรส กลิ่น สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติ ให้เป็นอาหารไทย ศาสตร์และศิลป์แห่งอาหารชาววังได้เผยแพร่สู่ประชาชนอย่างกว้างขวางทั้ง จากบรรดาข้าหลวงที่เข้ามาถวายตัวรับใช้ในวัง ได้วิชาเรือนติดตัวไป เมื่อออกไปมีเหย้ามีเรือน ความรู้ด้านอาหารชาววังก็จึงถูกเผยแพร่ออกไป
อาหารไทยเป็นเครี่องสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความคิด จิตใจของคนไทยได้อย่างแจ่มชัด วัฒนธรรมอาหารการกินที่มีความหลากหลายอย่างน่าอัศจรรย์ ถูกสร้างสรรค์มาจากภูมิปัญญาในการคัดเลือกวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์จากข้าว ปลา พืช ผัก ผลไม้ ผสานกับภูมิปัญญาของบรรพชนมาปรุงให้เป็นอาหารได้อย่างสารพัด ด้วยกรรมวิธีต่างที่ถูกคิด เลือกสรรและประดิษฐ์ให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละท้องถิ่น และยังผสมผสานวัฒนธรรมจากชาติต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน มอญ พม่า เป็นต้น ซึ่งกว่าที่อาหารชนิดนั้นจะมาเป็นส่วนหนึ่งของสำรับอาหารไทยก็ต้องผ่านการ ปรับเปลี่ยน ปรุงแต่งรสชาติให้ถูกปากถูกลิ้นคนไทยและเหมาะสมกับวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้อง ถิ่นตนเอง ซึ่งไม่ว่าอาหารชนิดนั้นจะรับวัฒนธรรมมาจากชาติใดก็ตาม สุดท้ายก็คือ อาหารไทย ที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยนั้นเอง
เอกลักษณ์ วัฒนธรรมการรับประทานอาหารไทย
อาหารไทยนับเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาอันปราดเปรื่องของคน ไทยแต่โบราณ ที่คัดสรรพืชพรรณธรรมชาติที่รายล้อมอยู่รอบตัวมาผสมผสานปรุงรสกับส่วนผสมอื่นๆ จนได้เมนูอาหารอร่อยและเต็มไปด้วยคุณค่าต่อร่างกาย ข้าวผัดสัปะรด
ข้าวผัดสับปะรด

ส่วนผสมสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับครัวไทยคือพืชผัก ที่จัดว่าเป็นสมุนไพร เช่น พริกขี้หนูรสชาติเผ็ดร้อน ซึ่งอุดมด้วยวิตามินซี ช่วยให้กระเพาะอาหารดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น ขิง ข่า ที่นอกจากเพิ่มรสร้อนแรงและกลิ่นหอมให้อาหาร ยังมีสรรพคุณในการขับลม แก้ท้องอืด ใบกะเพรา กลิ่นหอมฉุน ช่วยขับลม แก้จุกเสียด ฯลฯ
ทว่าแม้คนไทยจะนิยมกินผักสมุนไพร แต่ใช่ว่าอาหารไทยทุกเมนูจะร้อนแรงไปด้วยกลิ่นรสจัดจ้าน เพราะอาหารไทยมีความหลากหลายของรสชาติ ทั้งเผ็ด เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม ที่เคล้ากันอยู่ได้อย่างกลมกล่อมในอาหารแต่ละเมนู เช่น ต้มยำกุ้ง อาหารยอดนิยมของคนไทยและชาวต่างชาติ รสชาติจะออกเปรี้ยวนำ เผ็ดตาม หอมกรุ่นด้วยกลิ่นสมุนไพรอย่างใบมะกรูด ตะไคร้และสมุนไพรอื่นๆ อีกมากมายหรือผัดไทย ซึ่งรสเปรี้ยวหวานของน้ำมะขามเปียกและน้ำตาลทรายนำมาเป็นอันดับแรก ตามด้วยรสเค็มกลมกล่อมซึ่งเมื่อรวมกับส่วนผสมอื่นๆ เช่น เส้นเล็กเหนียวนุ่ม ไข่ไก่ กุ้งแห้งอย่างดี ก็กลายเป็นเมนูจานเด็ดรสกลมกล่อมที่ชื่อกระฉ่อนไปทั่วโลกและเพราะการคัดสรรวัตถุดิบอันอุดมด้วยประโยชน์จากธรรมชาติ
ประเภทของอาหารไทย
อาหารประเภทของว่างหรือของทานเล่น
อาหารประเภทของว่างหรือของทานเล่นเป็นอาหารที่ใช้รับประทานระหว่างมื้อหรือกินเป็นของเล่นตลอดจนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการนำมารับประทานในงานเลี้ยงสังสรรค์หรืองานเลี้ยงต่างๆ ทั้งที่เป็นของโบราณแต่ดั้งเดิมและเมนูประยุกต์ให้เข้ากับปัจจุบันอาทิเช่นเช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ ปอเปี๊ยะทอด ข้าวต้มมัด ข้าวหมาก สาคูไส้หมูและข้าวตังหน้าตั้ง เป็นต้น
อาหารประเภทยำและพล่า
อาหารประเภทยำและพล่าสามารถจำแนกตามวิธีการเตรียมอาหารเช่น ถ้าทำเนื้อสัตว์ให้สุกจะจัดเป็นพวกยำ ถ้ากึ่งสุกกึ่งดิบจะเรียกว่า พล่า โดยมีการใช้เครื่องเทศที่แตกต่างกันบ้าง เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ การจำแนกตามลักษณะของการปรุง เช่น ยำใส่กะทิได้แก่ ยำถั่วพู ยำทวาย ยำหัวปลี ยำส้มโอและยำไม่ใส่กะทิ ได้แก่ ยำใหญ่ ยำวุ้นเส้น ยำปลาดุกฟู นอกจากนี้ยังมีการจำแนกตาม รสชาติของอาหารยำ เช่น ยำที่มีรสหวานนำ ยำที่มีรสเปรี้ยวเค็มนำ เป็นต้น
อาหารประเภทหลนและน้ำพริก
อาหารประเภทยำและพล่าจำแนกออกเป็นน้ำพริกและหลน นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาถึงการใช้พืช ผัก มาเป็นของแนม โดยน้ำพริกแต่ละชนิดจะมีการเตรียมผักที่ต่างกัน มีทั้งผักดิบและผักต้ม ผักต้มลวกราดกะทิ ผักผัดน้ำมันและผักทอด ทั้งชุบแป้งและชุบไข่ทอด เช่น การรับประทานผักต้มกะทิ ผักชุบไข่ทอดกับน้ำพริกกะปิ เป็นต้น
อาหารประเภทต้ม
อาหารประเภทต้มอาหารประเภทต้มมีลักษณะเป็น "กับข้าวที่ปรุงเป็นน้ำ"ได้แก่ น้ำกะทิ นม น้ำเป็นต้น หลักสำคัญของการต้มคือ เมื่อทำให้ของเหลวเดือดแล้วลดความร้อนลงเพื่อให้เดือดเบาๆ อาหารที่ต้มอาจใส่ลงไปขณะที่น้ำเย็นหรือน้ำเดือดก่อนก็ได้ อาหารประเภทต้มจะมีชื่อต่างๆ กันตามรส วิธีและเครื่องปรุง เช่น แกงจืดเป็นแกงชนิดหนึ่งที่ไม่เผ็ด อาหารประเภทต้มต่างๆ
อาหารประเภทแกง
อาหารประเภทแกงอาจจำแนกย่อยได้ตามจำนวนของเครื่องเทศที่ใช้ เช่น แกงเลียง จัดว่าเป็นแกงที่มีเครื่องแกงน้อยที่สุด แต่เครื่องแกงนั้นเป็นส่วนประกอบหลักพื้นฐานของเครื่องแกงกลุ่มแกงส้ม แกงป่า แกงเผ็ด จนถึงแกงที่ถือว่ามีส่วนประกอบในเครื่องแกงมากที่สุด คือ แกงกะหรี่ แกงมัสมั่นเป็นต้น หรืออาจจำแนกได้จากการใช้หรือไม่ใช้กะทิในการปรุงอาหาร หรือการจำแนกตามรสชาติของอาหาร เช่น แกงเผ็ด แกงส้ม หรือแม้แต่การแบ่งตามสีของอาหารเช่นแกงแดง แกงเขียวหวาน เป็นต้น
อาหารจานเดียว
อาหารจานเดียวอาหารจานเดียวของไทย สามารถแบ่งย่อยได้เป็นอาหารจานเดียวประเภทขนมจีน ข้าว เช่น ข้าวคลุกกะปิ ข้าวคลุกน้ำพริก ข้าวยำปักษ์ใต้ ส่วนอาหารจานเดียวที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากไทย แต่มีการบริโภคกันมานานและเป็นที่นิยมกันทั่วไปจนน่าจะถือว่าเป็นอาหารจานเดียวของไทยได้ เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง เป็นต้น ก๋วยเตี๋ยวก็เป็นอาหารจานเดียวอีกประเภทที่เป็นที่นิยมเช่น ผัดไทย หมี่กะทิ เส้นจันท์ผัดกับวัตถุดิบประเภทต่างๆ เป็นต้น
อาหารประเภทของหวาน
อาหารประเภทของหวานเป็นสิ่งจำเป็นในสำหรับอาหารไทย ขนมหวานของไทยบางครั้งใช้เสริ์ฟในลักษณะของว่างก็มีเช่น เครื่องขนมหวานประเภทผลไม้ลอยแก้วที่ใช้เสิร์ฟยามบ่าย ให้รับประทานกับน้ำแข็งที่เย็นชื่นใจ ประเภทขนมหวานไทยได้แก่ ผลไม้ลอยแก้ว รวมมิตร ทับทิมกรอบ แกงบวด ขนมนึ่ง ขนมกวน ขนมถาด ขนมผิงและขนมทอด ของหวานไทยที่นิยมรับประทานมีรสชาติหวานมัน กรรมวิธีในการทำขนมไทยส่วนใหญ่มักใช้การนึ่ง กวน ต้มและส่วนประกอบเครื่องปรุงง่ายในการจัดเตรียม
การเตรียม ประกอบอาหารไทย
อาหารประเภทของว่างหรือของทานเล่น
อาหารว่างของไทยมีมากมายหลากหลายชนิดมีทั้งอาหารคาวและอาหารหวานที่มีการจัดจานอย่างสวยงามชวนให้น่ารับประทาน การประกอบอาหารทั้งคาวและหวานให้อร่อยน่ารับประทานมีประโยชน์และปลอดภัยนั้น ต้องผ่านกระบวนการเตรียม ประกอบจัดตกแต่งอาหารที่สะอาด และถูกวิธีทั้งของสดและของแห้ง การเตรียมอาหารประเภทของว่างหรือของทานเล่นที่นิยมเป็นการเตรียมอาหารที่รวดเร็วสะดวกและง่ายดายในการจัดเตียม เหมาะสำหรับเป็นมื้อเบาๆ ของครอบครัว ในการเตียมประกอบอาหารควรล้าง ปอก หั่ว ซอยให้มีขนาดพอคำและปรุงรสอาหารให้สุกด้วยวิธีต่างๆ ทำให้อาหารมีรสชาติและกลิ่นของอาหารที่น่ารับประทานโดยคำนึงถึงคุณค่าทางอาหารเป็นสำคัญ อาหารว่าง
อาหารประเภทหลนและน้ำพริก
การเลือกซื้อเครื่องปรุงที่ใช้ในการทำน้ำพริกหรือเครื่องจิ้มเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง เช่น อาหารแห้ง ต้องเลือกซื้อของที่ใหม่สดไม่มีแมลงกัดแทะ ไม่มีเชื้อรา ก่อนนำมาประกอบอาหารต้องคัดส่วนที่เสียออกแล้วล้างน้ำให้สะอาดและผึ่งให้แห้งก่อน ส่วนประกอบในการทำน้ำพริกได้แก่ พริก หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ต้นหอม ผักชี เกลือป่น มะนาว ข่า ขิง กะปิ น้ำ ปลา น้ำตาลเป็นต้น จากนี้ ยังมีการพิจารณาถึงการใช้พืชผักมาเป็นของแนม โดยน้ำพริกแต่ละชนิดจะมีการเตรียมผักที่ต่างกัน มีทั้งผักดิบและผักต้ม ผักต้มลวกราดกะทิ ผักผัดน้ำมันและผักทอด ทั้งชุบแป้งและชุบไข่ทอด ซึ่งจะช่วยลดความเผ็ดของน้ำพริกได้และมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วยginger
น้ำราดอาหารประเภทยำและพล่า
อาหารประเภทยำแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ประเภทเนื้อสัตว์ กับผักผลไม้ โดยพื้นฐานของรสชาติและวัตถุดิบหลักที่นำมาใช้นั้นแตกต่างกัน การยำประเภทเนื้อสัตว์จะเน้นใส่พืชสมุนไพรเป็นส่วนประกอบเช่น หอมแดง หอมใหญ่ คื่นไฉ่ กระเทียม ต้นหอม ผักชีเพื่อจะได้ช่วยกลบกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ น้ำยำต้องให้มีรสชาติจัดจ้าน แต่ถ้ายำผักผลไม้มักจะลดพวกเครื่องสมุนไพรลง ดังนั้นการเตรีมอาหารประเภทยำให้ออกมาอร่อยต้องคำนึงถึงหลักใหญ่ๆ ดังนี้คือ ขั้นตอนการเลือกวัตุดิบที่สดใหม่ ขั้นตอนการทำน้ำยำควรให้ได้รสเปรี้ยว หวาน เค็มเท่าๆ ปรุงให้มีรสเผ็ดเล็กน้อยและสุดท้ายขั้นตอนการยำให้คลุกส่วนผสมหลัก เข้ากันก่อนจากนั้นผสมน้ำยำลงไปคุลกเคล้าให้เข้ากัน
น้ำซุป
การทำอาหารประเภทต้มหรือแกงต้องมีน้ำซุปหรือน้ำสต็อกที่ดี เครื่องปรุงในการทำน้ำซุปให้เข้มข้นเน้นใส่เครื่องปรุงสมุนไพรเป็นส่วนประกอบเช่น เกลือ กระเทียม หอมแดง รากผักชีและกระดูกเนื้อสัตว์ประเภทหมูหรือไก่ต้องผ่านกระบวนการเตรียมที่สะอาด สำหรับทำน้ำซุปหรือน้ำสต็อก เมื่อน้ำซุปเดือดแล้วลดความร้อนลงเพื่อให้เดือนเบาๆ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนและค่อยตักฟองในน้ำซุปทิ้งบ่อยๆ เพื่อให้น้ำซุปมีสีใสน่ารับประทาน จากนั้นใส่เนื้อสัตว์ที่เตียมไว้ ขั้นตอนสุดท้ายปรุงรสต่างๆ ที่ต้องการ จำแนกตามวิธีการ เครื่องปรุง เครื่องเทศที่ใช้ เช่น ต้มจืด แกงป่า แกงเผ็ด แกงมัสมั่น แกงส้ม แกงแดง แกงเขียวหวานและต้มยำกุ้ง เป็นต้น
เครื่องแกงไทย
เครื่องแกง หรือ น้ำพริกแกง เป็นส่วนผสมของเครื่องเทศชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการปรุงอาหารประเภทแกง เครื่องแกงในอาหารไทยแบ่งออกมีหลายชนิด ได้แก่ เครื่องแกงส้ม แกงคั่ว แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น ซึ่งเครื่องแกงแต่ละอย่างจะมีวิธีการเตรียมเครื่องเทศที่เป็นส่วนประกอบเหมือนกัน แต่อาจจะแตกต่างในด้านชนิดและปริมาณของเครื่องเทศที่ใส่ การโขลกน้ำพริกแกงมีขั้นตอนที่ละเอียดพิถีพิถัน น้ำพริกแกงที่ได้ต้องละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนประกอบหลักที่สำคัญในเครื่องแกงไทยได้แก่ พริก หัวหอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ผิวหรือใบมะกรูด รากผักชี กระชาย เครื่องเทศแห้งต่างๆ เช่น ลูกผักชี ลูกยี่หร่า ดอกจันทร์ ลูกกระวาน กานพลูและอบเชย เป็นต้นCurries
อาหารจานเดียว
อาหารจานเดียวเหมาะสำหรับเป็นมื้อเร่งด่วนของครอบครัว การเตรียม ประกอบ จัดแต่งอาหารให้อร่อยน่ารับประทานให้มีและโยชน์ครบถ้วนปลอดภัยนั้น ต้องผ่านกระบวนการเตรียม ประกอบ จัดแตกแต่งอาหารที่สะอาดและูถูกวิธี การเตรียมอาหารเป็นการนำอาหารสด อาหารแห้งและเครื่องปรุงมาเตีรยมพร้อม เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการประกอบอาหารโดยการล้าง เด็ก ปอก หั่น สับ ฝาน บุบ โขลกเป็นต้น การประกอบอาหารควรปรุงอาหารดิบให้สุกด้วยวิธีการต่างๆ แต่ยังคงรสชาติ สี กลิ่นของอาหารให้น่ารับประทานโดยวิธีการลวก รวน ต้ม นึ่ง ย่าง คั่ว เจียว ทอด ผัดและหุง อาหารจานเดียวที่นิยมรับประทานกันมากได้แก่ ข้าวคลุกกะปิ หมูหวาน สปาเก็ตตี้ ข้าวมันไก่และข้าวผัดต่างๆ เป็นต้น

 
Single Dish Meals

ขนมไทย

ขนมหวาน
 
     ประเทศไทยมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือมีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำขนมหวานที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวานสีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ
ขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาลและหลักการในการทำขนมไทยจะใช้ิวิธีการ กวาน ต้ม นึ่ง มากกว่าการอบ
Sangkhaya Fakthon
สังขยาฟักทอง

สังขยาฟักทอง
  1. นำฟักทองมาตัดออกเป็นวงกลมบริเวณหัวขั้วจากนั้นจึงขวักเมล็ดข้างในออกจนกลวงเป็นช่องภายใน จากนั้นจึงนำไปล้างน้ำให้สะอาดทั้งภายนอกและภายในแล้วนำออกมาสะเด็ดน้ำ
  2. เตรียมทำสังขยาโดยผสมไข่ไก่ หัวกะทิ น้ำตาลปิ๊บและเกลือ คนจนส่วนผสมเข้ากันดี
  3. นำส่วนผสมสังขยาที่ทำใน (ขั้นตอนที่ 2) เทลงในฟักทอง จากนั้นจึงนำไปนึ่งประมาณ 20 - 25 นาที กรณีเสริฟเป็นลูกฟักทอง ก็นำฝาที่ตัดออกไปนึ่งด้วย ถ้าแบ่งเสริฟก็หั่นเป็นชิ้นๆ เพื่อความสวยงามและน่ารับประทาน เวลาหั่นควรระวังไม่ให้สังขยาเละ
ส่วนประกอบ
ฟักทองลูกเล็ก1 ลูก
ไข่ไก่ 5 ฟอง
น้ำตาลมะพร้าว1/3 ถ้วยตวง
เกลือ1/8 ช้อนชา
น้ำกะทิ1 ถ้วยตวง
บัวลอยเผือก
บัวลอยเผือก

บัวลอยเผือก
  1. ผสมแป้งข้าวเหนียวกับเผือกต้มสุกยีเข้าด้วยกัน เทน้ำอุ่นลงไปในส่วนของแป้ง นวดให้แป้งเนียน
  2. ปั้นแป้งให้เป็นก้อนกลม ๆ ขนาด ½ ซม. พักไว้
  3. นำหม้อตั้งไฟ เทน้ำลงไปต้มให้เดือด ใส่ก้อนแป้งลงไป เมื่อแป้งสุกก้อนแป้งจะลอยตัวในน้ำต้ม ตักออกแช่ในน้ำเย็น
  4. ในหม้ออีกใบใส่หางกะทิ น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทรายและเกลือป่น ต้มจนเดือด ใส่บัวลอยที่ต้มสุกแล้ว ลงไปคนให้เข้ากัน ใส่หัวกะทิลงไปคนให้เข้ากัน ตักใส่ถ้วย ยกเสิร์ฟร้อนๆ สำหรับ 4 ท่าน
บัวลอยเผือก
เผือกต้มสุก1 ถ้วยตวง
แป้วข้าวเหนียว2 ถ้วยตวง
แป้งข้าวโพด1 ถ้วยตวง
น้ำกะทิ4 ถ้วยตวง
เกลือ1/8 ช้อนชา
น้ำ1 ถ้วยตวง
กล้วบบวชชี
กล้วบบวชชี

กล้วยบวชชี
  1. นำกล้วยไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 3-5 นาที หรือนึ่งจนกระทั่งผิวกล้วยเริ่มแตกออก จึงปิดไฟและนำออกมาปอกเปลือกและหั่นครึ่งลูก จากนั้นจึงหั่นเป็นชิ้นเล็ก
  2. นำหางกะทิไปต้มในหม้อและใส่ใบเตยลงไป เมื่อเดือดแล้วจึงใส่กล้วยที่หั่นไว้แล้วลงไป ตามด้วยน้ำตาลทรายขาวและเกลือนิดหน่อย
  3. อย่าต้มนานจนเกินไปเพราะจะทำให้กล้วยจะเละ กล้วยควรจะยังแข็งนิดหน่อย จากนั้นตักใส่จานและเสริฟทันที
ส่วนประกอบ
กล้วยน้ำว้า 8-10 ลูก
น้ำกะทิ4 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย1 ถ้วยตวง
เกลือ1/4 ช้อนชา
ใบเตย 2 ใบ

 

สูตรอาหารไทยยอดนิยม

สูตรอาหารไทยยอดนิยม
 
อาหารไทยนับเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาอันปราดเปรื่องของคนไทยแต่โบราณที่คัดสรรพืชพรรณธรรมชาติที่รายล้อมอยู่รอบตัวมาผสมผสานปรุงรสกับส่วนผสม อื่นๆ จนได้เมนูอาหารอร่อยและเต็มไปด้วยคุณค่าต่อร่างกายและด้วยอิทธิพลการปรุงอาหารที่หลากหลายจากภายนอก ส่งผลให้อาหารไทยต้นตำรับมีความโดดเด่นและสร้างความประทับใจอย่างไม่รู้ลืม
อาหารไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ด้วยความสมดุลของรสชาติทั้ง 4 คือ เปรี้ยว เค็ม หวานและเผ็ดร้อนที่ผสมกันอย่างกลมกล่อม เครื่องเทศเป็นของหอมฉุนและเผ็ดร้อนที่ได้จากพืช เช่น เมล็ด เปลือกเมล็ด ผล ผิวนอกของผล ใบ ราก ลำต้น นำมาทำให้แห้งแล้วนำมาใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงอาหาร เช่น กระวาน กานพลู จันทร์เทศ ดีปลี พริกไทย นับเป็นตัวชูกลิ่น รส ให้อาหารไทยมีความเป็นเอกลักษณ์และโดดเด่นไปทั่วโลก
ไก่ย่าง ข้าวเหนียว ส้มตำ
ข้าวเหนียว ไก่ย่าง

ไก่ย่าง ข้าวเหนียวและส้มตำ
ข้าวเหนียวนึ่ง
  1. ตวงข้าวเหนียวที่เตรียมไว้ใส่กะละมัง เลือกเศษสิ่งที่ไม่ต้องการออกให้หมดนำไปล้างน้ำให้สะอาดโดยล้างประมาณ 2 -3 น้ำ
  2. เติมน้ำสะอาดลงไปให้พอท่วม แช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง ก็สามารถนำไปนึ่งได้
  3. เทข้าวเหนียวที่ล้างแล้วใส่ภาชนะที่จะนำไปนึ่ง จากนั้นนำไปนึ่งในน้ำเดีอดไฟแรงจนสุก ข้าวเหนียวที่ได้ก็จะเงาดูสวย เมล็ดข้าวนิ่มน่ารับประเทาน
ส่วนประกอบ
ข้าวเหนียว4 ถ้วยตวงน้ำเปล่า5 ถ้วยตวง

ไก่ย่าง
  1. นำไก่สดหั่นเป็นชิ้นๆ ได้แก่ น่อง ขา ปีก สะโพกนำไปล้างให้สะอาด ใช้ส้อมจิ้มให้ทั่วตัวไก่เพื่อให้น้ำหมักซึมเข้าในเนื้อไก่ได้ง่ายขึ้น จากนั้นนำมาคุกเคล้ากับพริกไทยกระเทียมรากผักชีที่โขลกละเอียด ใส่เกลือป่น น้ำผึ้ง กะทิหรือนมจืด น้ำปลา ขิงสดสับละเอียด ซีอิ้วหวานและน้ำตาลทราย คลุกให้เข้ากัน หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
  2. นำไก่ที่หมักมาเสียบไม้ ปีก น่อง ขาสะโพก เสียบชิ้นละไม้
  3. จากนั้นนำมาย่างเตาไฟปานกลาง ย่างจากถ่านจะทำให้รสชาดดีกว่าย่างด้วยเตาไฟฟ้า ใช้เวลาย่างประมาณครึ่งชั่วโมงหรือจนไก่สุกทั่ว ระหว่างย่างใช้น้ำหมักทาที่เนื้อไก่เป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้ผิวแห้งเกินไปและกลับข้างไก่ด้วยเพื่อให้สุกทั่วดีและป้องกันไก่ไหม้
ส่วนประกอบ
ไก่ 1 ตัวน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชากะทิหรือนมจืด1/2 ถ้วยตวง
กระเทียม 12 - 15 กลีบน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยป่น 2 ช้อนชาขิงสดสับ1 ช้อนชา
รากผักชี3 รากซีอิ๊วขาว 2 ช้อนชา
ไก่ย่าง ข้าวเหนียว ส้มตำ
ส้มตำ

ส้มตำไทย
  1. โขลกกระเทียมกับพริกขี้หนูเข้าด้วยกัน ใส่กุ้งแห้ง ถั่วฝักยาว น้ำตาลปี๊บ โขลกต่อเบาๆ
  2. ใส่มะละกอ ถั่วลิสง หั่นมะเขือสีดาใส่ครก ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำส้มมะขาม เคล้าให้เข้ากันเบาๆ
  3. ชิมรส ปรุงเพิ่มให้ถูกใจ ตักใส่จานเสิร์ฟ
ส่วนประกอบ
มะละกอดิบสับเป็นเส้นเล็กๆ2 ถ้วยถั่วลิสง 1 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมกลีบเล็ก5 กลีบน้ำปลา2 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูสวน 5 เม็ดน้ำตาลปี๊บ1 ช้อนโต๊ะ
มะเขือสีดา หั่วขวาง3 ผลน้ำมะนาว หรือ น้ำส้มะขาม 1/4 ถ้วยตวง
ถั่วฝักยาว1 ฝักกุ้งแห้ง2 ช้อนโต๊ะ
หมูสะเต๊ะ
หมูสะเต๊ะ

ไก่สะเต๊ะ
  1. ล้างเนื้อไก่ให้สะอาด ซับน้ำให้แห้งแล้วหั่นเป็นชิ้นขนาดประมาณ 1 นิ้วครึ่ง หนาประมาณ 3 มิลลิเมตร
  2. นำลูกผักชีและยี่หร่าไปคั่วในกระทะใช้ไฟอ่อนจนหอม จากนั้นก็นำมาโขลกให้ละเอียด
  3. นำลูกผักชีและยี่หร่าที่โขลกได้ใส่ลงไปในเนื้อหมูที่หั่นไว้ เติมเครื่องปรุงต่างๆ ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วหมักไว้ประมาณ 3 ชั่วโมงหรือทิ้งไว้ข้ามคืน
  4. เมื่อหมักได้ที่แล้ว นำเนื้อหมูที่ได้มาเสียบไม้ (ก่อนเสียบไม้ให้นำไม้ไปแช่น้ำไว้ก่อนประมาณ 30 นาที เพื่อช่วยไม่ให้ไม้ไหม้)
  5. วางหมูที่เสียบไม้เรียบร้อยแล้วลงบนตะแกรง นำหัวกะทิ 2 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำมันพืช 1 ช้อนชามาทาให้ทั่วทุกไม้ก่อนนำไปย่าง
  6. จากนั้นนำมาย่างเตาไฟปานกลาง ย่างจากถ่านจะทำให้รสชาดดีกว่าย่างด้วยเตาไฟฟ้า พลิกกลับด้านทากะทิลงไปอีกครั้งให้ทั่วทุกไม้แล้วย่างอีกด้านจนสุก นำออกมาเสริ์ฟพร้อมกับน้ำจิ้มและอาจาด
ส่วนประกอบ
เนื้อไก่1 กิโลครึ่งตะไคร้สับละเอียด1/2 ช้อนโต๊ะ
ลูกผักชี1/4 ช้อนโต๊ะเกลือป่น1 ช้อนโต๊ะ
ยี่หร่า1/4 ช้อนโต๊ะกระเทียมกลีบเล็ก5 กลีบ
พริกไทยป่น1/4 ช้อนโต๊ะกะทิ1 ถ้วยตวง
ผงขมิ้น1/4 ช้อนโต๊ะน้ำมันพืช2 ช้อนโต๊ะ
ผงกะหรี่ 1/2 ช้อนโต๊ะน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
ข่า3 ชิ้นซีอิ้วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
แกงเขียวหวานเนื้อ
แกงเขียวหวาน

แกงเขียวหวาน
แกงเขียวหวาน เป็นอาหารไทยประเภทแกง ประกอบด้วยเนื้อ ปลา ไก่ หรือหมูและผัก ปรุงรสด้วยกะทิ มะเขือ น้ำตาล น้ำปลา ใบมะกรูดและใบโหระพา นิยมรับประทานกับข้าวสวยหรือขนมจีน
  1. โขลกลูกผักชี ยี่หร่าและพริกไทยเข้าด้วยกันให้ละเอียดตักใส่ถ้วยไว้
  2. โขลกพริกขี้หนูสีเขียวกับเกลือเข้าด้วยกันให้ละเอียดใส่ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูดและรากผักชี โขลกพอละเอียด ใส่กระเทียม หอมแดง โขลกให้ละเอียด ใส่เครื่องเทศที่โขลกและกะปิ โขลกให้เข้ากัน
  3. ล้างเนื้อ หั่นเป็นชิ้นบางขนาด 3 ซม. ผัดน้ำพริกแกงเขียวหวานกับน้ำมันในกระทะด้วยไฟกลางจนหอม ลดเป็นไฟอ่อน ใส่กะทิทีละน้อย ผัดจนแตกมันสีเขียวลอยหน้า ใส่จนหมดกะทิ 1 1/2 ถ้วย
  4. ใส่เนื้อกับใบมะกรูด ผัดนานประมาณ 3 นาทีพอสุกและมีกลิ่นหอม ตักใส่หม้อยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง พอเดือดใส่กะทิที่เหลือ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล พอเดือดอีกครั้งใส่มะเขือเปราะ พอมะเขือสุกใส่ใบโหระพาและพริกชี้ฟ้าสีแดง ปิดไฟ
  5. ตักแกงใส่ถ้วย ตกแต่งด้วยใบโหระพาและพริกชี้ฟ้าสีแดงหั่นแฉลบ ตักใส่จานเสิร์ฟ
ส่วนประกอบ
เนื้อวัวส่วนสันใน450 กรัมน้ำปลา2 ช้อนโต๊ะ
ข่าแก่หั่นละเอียด1 ช้อนโต๊ะน้ำตาลปี๊บ3 ช้อนโต๊ะ
หอมแดง2 หัวมะเขือเปราะผ่าสี่5 ลูก
ลูกผักชีคั่ว 1 ช้อนโต๊ะกะทิ2 1/2 ถ้วย
ยี่หร่าคั่ว 1 ช้อนชาใบมะกรูดฉีก6 ใบ
พริกไทยเม็ด 5 เม็ดใบโหระพา 1/4 ถ้วย
เกลือป่น1 ช้อนชาน้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
กระเทียม 8 กลีบ พริกขี้หนูสีเขียวเม็ดใหญ่10 เม็ด
กะปิ 1 ช้อนชาพริกชี้ฟ้าสีแดงหั่นแฉลบ10 เม็ด
ผิวมะกรูดหั่นละเอียด1/4 ช้อนชาน้ำพริกแกงเขียวหวาน4 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้ซอย 2 ต้น
ผัดผักรวม
ผัดผักรวม

ผัดผักรวม
  1. ปลอกเปลือกกระเทียม เด็ดขั้วพริกหยวก นำไปล้างน้ำให้สะอาด นำกระเทียมมาสับให้ละเอียด ส่วนพริกหวกนำมาหั่นชิ้นยาวพักไว้
  2. นำผักคะน้ามาหั่นใบแก่ออก บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั้งนำไปล้างน้ำให้สะอาดตัดเป็นท่อนๆ ละ 1 นิ้ว เห็ดหอมสดหั่นครึ่ง เห็ดหูหนูหั่นเป็นเส้นบางๆ ถั่วงอกและถั่วหิมะ ตัดหัวและปลายทิ้ง ส่วนแครอทนำมาปลอกเปลือกล้างให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นยาว
  3. เปิดเตาที่ไฟปานกลางค่อนข้างแรง ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงไป พอน้ำมันเริ่มร้อน ให้นำกระเทียมที่สับไว้และพริกหั่นลงไปผัดให้หอมและให้เข้ากัน
  4. ใส่แครอทและผักคะน้าลงไป เติมซีอิ้วขาวและน้ำตาลทราย ผัดให้เครื่องทั้งหมดเข้ากัน จึงใส่ผักต่างๆ ที่หั่นเตรียมไว้ใส่ลงไป
  5. ผัดซักพักจนผักต่างๆ เริ่มสลดจึงใส่เน้ำมันหอยแล้วผัดเร็วๆ ให้เข้ากัน จากนั้นปิดเตาและยกลง ตักใส่จานเสิร์ฟ
ส่วนประกอบ
กะหล่ำปลี1 1/2 ถ้วยตวงเห็ดหูหนู1/4 ถ้วย
บร็อคโคลี่ 1 หัวถั่วงอก1/2 ถ้วยตวง
ถั่วหิมะ10 ชิ้นกระเทียมสับละเอียด2 ช้อนชา
แครอท10 ชิ้นน้ำมันพืช4 ช้อนโต๊ะ
หน่อไม้ฝรั่ง10 ชิ้นซอสหอยนางรม1 ช้อนโต๊ะ
เห็ดหอมสด3 ชิ้นซีอิ้วขาว2 ช้อนโต๊ะ
พริกหยวกสีเขียวและสีแดง1/2 ถ้วยตวงน้ำตาลทราย1 ช้อนชา




 

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เสน่ห์อาหารไทย 4 ภาค

เสน่ห์อาหารไทย 4 ภาค

          อาหารไทยเป็น วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมานาน แต่แม้จะมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นจากส่วนผสมจากสมุนไพรแต่อาหารในแต่ละ ภูมิภาคก็มีความแตกต่างกัน


          อาหารไทยภาคเหนือ

          อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ มีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมใช้พืชตามป่าเขาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมาปรุงอาหาร เนื้อสัตว์ได้จากท้องทุ่งและลำน้ำ อาทิเช่น กบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย ไก่ หมู และเนื้อ คนเหนือไม่นิยมใช้น้ำตาล แต่จะใช้ความหวานจากส่วนผสมที่ใช้ทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก ปลา หรือมะเขือส้ม

          กรรมวิธีการปรุงอาหาร มักจะปรุงให้สุกมากๆ อาหารประเภทผัด หรือต้ม จะปรุงจนกระทั่งผักมีความนุ่ม และมีเครื่องปรุงรสเฉพาะของภูมิภาค เช่น น้ำปู๋ ซึ่งได้จากการเอาปูนาตัวเล็กๆ เอามาโขลก แล้วนำไปเคี่ยว กรองเอาแต่น้ำ ใส่ข่า ตะไคร้ เคี่ยวต่อจนข้น ถั่วเน่าแผ่น ถั่วเหลืองต้มหมักกับเกลือจนนุ่ม นำไปโม่แล้วละเลงเป็นแผ่น ตากแดดให้แห้ง ใช้แทนกะปิ ผักและเครื่องเทศที่ใช้เป็นผักเฉพาะถิ่น

          ภาคเหนือมีเครื่องเทศของ เขา ส่วนใหญ่จะไม่ใช้กะปิเขาจะใช้เป็นถั่วเน่าแทน…จะมีอาหารเฉพาะหลายอย่าง เช่น ข้าวซอย น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู เป็นลักษณะเด่นของอาหารทางภาคเหนือ แต่เขาก็ยังจะมีพวกปิ้งย่างอย่างพวกหมูเขาก็จะหมักแล้วห่อใบตองปิ้งย่าง


          อาหารไทยภาคอีสาน

          อาหารอีสาน เป็นอาหารที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับวิถีการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน ในแต่ละมื้อจะมีอาหารปรุงง่ายๆ 2-3 จาน มีผักเป็นส่วนประกอบหลัก เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่เป็นปลา หรือเนื้อวัวเนื้อควาย อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่มีรสชาติออกไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงสำคัญที่แทบจะขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ชาวอีสานเรียก "ปลาแดก" เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารทุกประเภท อาหารจะมีลักษณะแห้ง ข้น หรือมีน้ำขลุกขลิก ไม่นิยมใส่กะทิ รสชาติอาหารจะเข้มข้นเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด

          รสชาติทางอีสานออกไปทางรสค่อนข้างจัด วัตถุดิบก็จะต่างกันมีการเอาข้าวไปคั่วให้หอมมาผสมเป็นน้ำตกหรือทำลาบ

          เขาจะใช้ปลาร้าเข้ามามี ส่วนร่วมในการปรุงอาหาร ปลาร้ามีรสเค็มและมีกลิ่นหอมเฉพาะ บางทีคนอีสานทำอาหารแต่ขาดปลาร้า อาหารก็จะไม่ใช่ลักษณะของเขา อย่างส้มตำก็ต้องเป็นส้มตำปลาร้า ภาคอีสานบางทีก็คล้ายๆ กับภาคเหนือ สมมติถ้าเขามีปลาก็จะต้มใส่ใบมะขามใส่ตะไคร้

          ชาวอีสานนิยมกินข้าว เหนียวเป็นหลัก และมีน้ำปลาร้าปรุงในอาหารแทบทุกชนิด มีศัพท์การปรุงหลายรูปแบบ เช่น ลาบ ก้อย หมก อ่อม แจ่ว จุ๊ ต้มส้ม ซุป เป็นต้น


          อาหารไทยภาคใต้

          อาหารหลักของคนภาคใต้คือ อาหารทะเล และกลิ่นคาวโดยธรรมชาติของปลา หรืออาหารทะเลอื่นๆ ทำให้อาหารของภาคใต้ต้องใช้เครื่องเทศโดยเฉพาะ เช่น ขมิ้น เป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาว อาหารภาคใต้จึงมักมีสีออกเหลือง เช่น แกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ซึ่งมีขมิ้นเป็นส่วนผสมทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่ง อาหารส่วนใหญ่มีรสชาติเผ็ดจัด และนิยมใส่เครื่องเทศมาก

          อาหารส่วนใหญ่เป็นพวก กุ้ง หอย ปู ปลา จะเน้นเครื่องเทศเป็นสำคัญ อาหารภาคใต้จะไม่เน้นรสหวานจะเป็นรสจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และเน้นใส่ขมิ้นในอาหารทุกชนิด เครื่องปรุงของเขาเน้นกะปิ ส่วนที่ปรุงรสเปรี้ยวจะไม่ค่อยใช้มะนาว จะใช้เครื่องเทศของเขา


          ส่วนภาคตะวันออก

          มีดินแดนติดทะเล คนแถบนี้นิยมบริโภคอาหารทะเล และกินผักพื้นบ้าน มีเครื่องเทศสมุนไพรเฉพาะถิ่น และมีผลไม้หลากหลาย การปรุงอาหารคาวบางอย่างจึงนิยมใส่ผลไม้ลงไปด้วย อีกทั้งผสมผสานการปรุงจากชาวจีน อาหารของภาคนี้จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร


          อาหารไทยภาคกลาง

          ภาคกลางเป็นพื้นที่อุดม สมบูรณ์ มีพืชผักผลไม้นานาชนิด อาหารของภาคกลางมีที่มาทั้งจากอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันจากประเทศจีน เป็นอาหารมีการประดิษฐ์ผู้อยู่ในรั้วในวังได้คิดสร้างสรรค์อาหารให้มีความ วิจิตรบรรจง อาหารภาคกลางมักจะมีเครื่องเคียงของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ แนมด้วยหมูหวาน แกงกะทิแนมด้วยปลาเค็ม กุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง กินกับสะเดาน้ำปลาหวาน

          รสชาติของอาหารไม่เน้นรส ใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ จะมีรส เค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน เคล้ากันไปตามชนิดของอาหาร นิยมใช้เครื่องเทศแต่งกลิ่นรส และใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหาร

          ยังมี "อาหารชาววัง" ที่ มีต้นกำเนิดจากอาหารในราชสำนัก ที่เน้นตกแต่งประณีตและปรุงให้ได้ครบรส ได้แก่ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด นิยมประดิษฐ์อาหารให้สวยงามเลียนแบบรูปทรงต่างๆ ในธรรมชาติ
 
 
 
 
 
อาหารไทย

อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด
จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดย ซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46, น้ำตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น ติดอันดับที่ 1

 

จุดเด่น

คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมกัน 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้นิยมกินข้าวเจ้าเป็นหลัก ประเทศไทยที่ผูกพันกับสายน้ำเป็นหลัก ทำให้อาหารประจำครัวไทยประกอบด้วยปลาเป็นหลัก ทั้ง ปลาย่าง ปลาปิ้ง จิ้มน้ำพริก กินกับผักสดที่หาได้ตามหนองน้ำ ชายป่า หากกินปลาไม่หมดก็สามารถนำมาแปรรูปให้เก็บไว้ได้นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า
อาหารรสเผ็ดที่ได้จากพริกนั้น ไทยได้รับนำมาเป็นเครื่องปรุงมาจากบาทหลวงชาวโปรตุเกส ในสมัยพระนารายณ์ ส่วนอาหารประเภทผัดไฟแรง ได้รับมาจากชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ขายเป็นอาชีพและมีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้มีการหาเนื้อสัตว์มารับประทานมากขึ้น มีการใช้เครื่องเทศหลากชนิดเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อที่นำมาปรุงเป็นอาหาร เครื่องเทศที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารประเภทนี้เช่น ขิง กระชาย ที่ดับกลิ่นคาวปลามานาน ก็นำมาประยุกต์กับเนื้อสัตว์ประเภทวัว ควาย เป็นสูตรใหม่ของคนไทย

 จุดกำเนิด

อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาของ อาจารย์กอบแก้ว นาจพินิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้

 สมัยสุโขทัย

อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึก และวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับเนื้อสัตว์ ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า “แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตงและน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน

 สมัยอยุธยา

สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออก จากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่าย ยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกง และคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกะทิมากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มาอาหารอยุธยามีเช่น หนอนกะทิ วิธีทำคือ ตัดต้นมะพร้าว แล้วเอาหนอนที่อยู่ในต้นนั้นมาให้กินกะทิแล้วก็นำมาทอดก็กลายเป็นอาหารชาววังขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา หลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติต่าง ๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซีย และฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆ และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลายอยู่าชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด

สมัยรัตนโกสินทร์

การศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยในยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้ คือ ยุคที่ 1 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และยุคที่ 2 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ดังนี้

 พ.ศ. 2325–2394

อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรี แต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเภท คือ นอกจากมีอาหารคาว อาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีนมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทย ในที่สุด จากจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ ในงานสมโภชน์ พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ได้แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย เช่น ผัก น้ำพริก ปลาแห้ง หน่อไม้ผัด แล้วยังมีอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลาม และมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากหมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยม แต่คนจีนนิยม
บทพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงกล่าวถึงอาหารคาวและอาหารหวานหลายชนิด ซึ่งได้สะท้อนภาพของอาหารไทยในราชสำนักที่ชัดเจนที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะของอาหารไทยในราชสำนักที่มีการปรุงกลิ่น และรสอย่างประณีต และให้ความสำคัญของรสชาติอาหารมากเป็นพิเศษ และถือว่าเป็นยุคสมัยที่มีศิลปะการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ทั้งรส กลิ่น สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติให้เป็นอาหารไทย
จากบทพระราชนิพนธ์ทำให้ได้รายละเอียดที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของอาหารคาวหรือกับข้าวและอาหารว่าง ส่วนทีเป็นอาหารคาวได้แก่ แกงชนิดต่างๆ เครื่องจิ้ม ยำต่างๆ สำหรับอาหารว่างส่วนใหญ่เป็นอาหารว่างคาว ได้แก่ หมูแนม ล่าเตียง หรุ่ม รังนก ส่วนอาหารหวานส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ทำด้วยแป้งและไข่เป็นส่วนใหญ่ มีขนมที่มีลักษณะอบกรอบ เช่น ขนมผิง ขนมลำเจียก และมีขนมที่มีน้ำหวานและกะทิเจืออยู่ด้วย ได้แก่ ซ่าหริ่ม บัวลอย เป็นต้น
นอกจากนี้ วรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างมากรวมทั้งเรื่องอาหารการกินของชาวบ้าน พบว่ามีความนิยมขนมจีนน้ำยา และมีการกินข้าวเป็นอาหารหลัก ร่วมกับกับข้าวประเภทต่างๆ ได้แก่ แกง ต้ม ยำ และคั่ว อาหารมี ความหลากหลายมากขึ้นทั้งชนิดของอาหารคาว และอาหารหวาน
 พ.ศ. 2394–ปัจจุบัน
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก และมีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นในบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน จดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้น เป็นต้น และยังมีบันทึกต่างๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติ และบันทึกที่เป็นทางการอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะของอาหารไทย ที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็น กับข้าวอาหารจานเดียว อาหารว่าง อาหารหวาน และอาหารนานาชาติ ทั้งที่เป็นวิธีปรุงของราชสำนัก และวิธีปรุงแบบชาวบ้านที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหารไทยบางชนิดในปัจจุบันได้มีวิธีการปรุงหรือส่วนประกอบของอาหารผิดเพี้ยนไปจากของดั้งเดิม จึงทำให้รสชาติของอาหารไม่ใช่ตำรับดั้งเดิม และขาดความประณีตที่น่าจะถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของอาหาร ไทย

 อาหารไทยภาคต่าง ๆ

     อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ

ภาคเหนือรวม 17 จังหวัดประกอบด้วยภูมินิเวศน์ที่หลากหลายพร้อมด้วยชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบลุ่ม ที่ดอน และที่ภูเขาสูงในการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยพื้นราบซึ่งเป็นชาติพันธุ์ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ที่พื้นที่ลุ่มบริเวณแม่น้ำสายใหญ่ เช่น ปิง วัง ยม น่าน ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน และ อิง ลาว ของลุ่มน้ำโขง มีวิถีชีวิตผูกพันกับวัฒนธรรมการปลูกข้าวโดยชาวไทยพื้นราบภาคเหนือตอนบน 9 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน) มีวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก
อาหารของคนเหนือจะมีความงดงาม เพราะด้วยนิสัยคนเหนือจะมีกริยาที่แช่มช้อย จึงส่งผลต่ออาหาร โดยมากมักจะเป็นผัก

 อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีวิถีชีวิตที่ผูกติดกับทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งในเขตที่ราบ ในแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร อาศัยลำน้ำสำคัญ เช่น ชี มูล สงคราม โขง เป็นต้น และชุมชนที่อาศัยในเขตภูเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทือกเขาภูพานและเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งความแตกต่างของทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ระบบอาหารและรูปแบบการจัดการอาหารของชุมชนแตกต่างกันไปด้วย แต่เดิมในช่วงที่ทรัพยากรธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์ อาหารจากธรรมชาติมีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านจะหาอาหารจากแหล่งอาหารธรรมชาติเท่าที่จำเป็นที่จะบริโภคในแต่ละวันเท่านั้น เช่น การหาปลาจากแม่น้ำ ไม่จำเป็นต้องจับปลามาขังทรมานไว้ และหากวันใดจับปลาได้มากก็แปรรูปเป็นปลาร้าหรือปลาแห้งไว้บริโภคได้นาน ส่งผลให้ชาวบ้านพึ่งพาอาหารจากตลาดน้อยมาก ชาวบ้านจะ “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” สวนหลังบ้านมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นแหล่งอาหารประจำครัวเรือน ชาวบ้านมีฐานคิดสำคัญเกี่ยวกับการผลิตอาหาร คือ ผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภค มีเหลือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านและทำบุญ
อาหารอีสานจะเน้นไปทางรสชาติที่อ่อนหวาน เช่น ผัดหมี่โคราช ส้มตำ

 อาหารภาคกลาง

ลักษณะอาหารพื้นบ้านภาคกลางมีที่มาต่างกันดังนี้
  1. ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอดรับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก เป็นต้น
  2. เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ โดยเฉพาะอาหารจากในวังที่มีการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก
  3. เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วยหมูหวานแกงกะทิ แนมด้วยปลาเค็ม สะเดาน้ำปลาหวานก็ต้องคู่ กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสดหรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแหนมอีกหลายชนิด เช่น ผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น
  4. เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง

 อาหารภาคใต้

ภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นทะเล ชาวใต้นิยมใช้กะปิในการประกอบอาหาร อาหารที่ปรุงในครัวเรือนก็เหมือนๆกับอาหารไทยทั่วไป แต่รสชาติจะจัดจ้านกว่า อาหารใต้ไม่ได้มีเพียงแค่ความเผ็ดจากพริกแต่ยังใช้พริกไทยเพิ่มความเผ็ดร้อนอีกด้วย และเนื่องจากภาคใต้มีชาวมุสลิมเป็นจำนวนมาก ตามจังหวัดชายแดนใต้ก็ได้มีอาหารที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างอาหารใต้ที่ขึ้นชื่อได้แก่
  1. แกงไตปลา (ไตปลา ทำจากเครื่องในปลาผ่านกรมวิธีการหมักดอง) การทำแกงไตปลานั้นจะใส่ไตปลาและเครื่องแกงพริก ใส่สมุนไพรลงไป เนื้อปลาแห้ง หน่อไม้สด บางสูตรใส่ ฟักทอง ถั่วพลู หัวมัน ฯลฯ
  2. คั่วกลิ้ง เป็นผัดเผ็ดที่ใช้เครื่องแกงพริกและสมุนไพรปรุง รสชาติเผ็ดร้อน มักจะใส่เนื้อหมูสับ หรือ ไก่สับ
  3. แกงพริก แกงเผ็ดที่ใช้เครื่องแกงพริกเป็นส่วนผสม เนื้อสัตว์ที่ใช้ปรุงคือ เนื้อหมู กระดูกหมู หรือไก่
  4. แกงป่า แกงเผ็ดที่มีลักษณะที่คล้ายแกงพริกแต่น้ำจะใสกว่า เนื้อสัตว์ที่ใช้ปรุงคือ เนื้อปลา หรือ เนื้อไก่
  5. แกงส้ม หรือแกงเหลืองในภาษากลาง แกงส้มของภาคใต้จะไม่ใส่หัวกระชาย รสชาติจะจัดจ้านกว่าแกงส้มของภาคกลาง และที่สำคัญจะต้องใส่กะปิด้วย
  6. หมูผัดเคยเค็มสะตอ เคยเค็มคือการเอากุ้งเคยมาหมัก ไม่ใช่กะปิ
  7. ปลาต้มส้ม ไม่ใช่แกงเผ็ดแต่เป็นแกงสีเหลืองจากขมิ้น น้ำแกงมีรสชาติเปรี้ยวจากส้มควายและมะขามเปียก
อาหารขึ้นชื่อของชาวมุสลิม
  1. ข้าวยำน้ำบูดู เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวมุสลิม ประกอบด้วยข้าวสวยใส่ผักนานาชนิดอย่างเช่น ถั่วฝักยาวซอย ดอกดาหลาซอย ถั่วงอก แตงกวาซอย ใบพลูซอย ใบมะกรูดอ่อนซอย กุ้งแห้งป่น ราดด้วยน้ำบูดู อาจจะโรยพริกป่นตามความต้องการ
  2. กือโป๊ะ เป็นข้าวเกรียบปลาที่มีถิ่นกำเนิดมาจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซีย) มีแบบกรอบซึ่งจะหั่นเป็นแผ่นบางๆแบบข้าวเกรียบทั่วไป แบบนิ่มจะมีลักษณะเป็นแท่ง เวลารับประทานจะเหนียวๆ รับประทานกับน้ำจิ้ม
  3. ไก่ย่าง ไก่ย่างของชาวมุสลิมในภาคใต้นั้น จะมีลักษณะพิเศษคือราดน้ำสีแดงลงไป น้ำสีแดงจะมีรสชาติเผ็ดนิดๆ หวาน เค็ม และกลมกล่อม สามารถหาได้ตามแผงอาหารทั่วไป ตามตลาดนัด หรือตลาดเปิดท้ายทั่วไป
  4. ไก่ทอดหาดใหญ่ จริงๆแล้วไก่ทอดหาดใหญ่เป็นไก่ทอดทั่วไป แต่ไก่ทอดหาดใหญ่เป็นไก่ทอดที่ขึ้นชื่อในภาคใต้

 อาหารชาววัง

   อาหารชาววัง หรือ กับข้าวเจ้านาย คืออาหารที่ประดิษฐ์คิดค้นโดยผู้คนในรั้ววัง มีอัตลักษณ์ที่สำคัญคือ ความอุดมสมบูรณ์และความสดใหม่ของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร มีกรรมวิธีในการทำซับซ้อน ประณีต ต้องใช้เวลาและกำลังผู้คนในการทำจำนวนมาก มีลักษณะความแปลกแตกต่าง ความวิจิตรบรรจง รวมถึงมีรสชาติที่นุ่มนวลไม่เผ็ดมาก มีความกลมกล่อมเป็นหลัก องค์ประกอบของอาหารชาววัง ในแต่ละมื้อจะประกอบด้วยอาหารที่มีความหลากหลาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีประเภทอาหารอย่างน้อยที่สุด 7 ประเภท คือ ข้าวเสวย เครื่องคาว เครื่องเคียงแกง เครื่องเคียงแขก เครื่องเคียงจิ้ม เครื่องเคียงเกาเหลา เครื่องหวาน อาหารมีครบรส คือ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด อาหารชาววังแตกต่างจากอาหารชาวบ้านคือ การจัดอาหารเป็นชุด หรือ สำรับอาหาร

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เมนูอาหารไทย 4 ภาค

เมนูอาหารไทย 4 ภาค
 
ภาคกลาง                          
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ข้าวปลาอาหารจึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดทั้งปี รวมทั้งมีพืชผัก ผลไม้นานาชนิด
ด้วยเหตุนี้อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลาย ทำให้รสชาติของอาหารภาคกลางไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ คือมีทั้งรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว และหวานคลุกเคล้าไปตามชนิดต่างๆของอาหาร นอกจากนี้มักมีการใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น เครื่องเทศ และมักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหาร
อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียงของแนมร่วม รับประทานด้วย เช่น น้ำพริกลงเรือ แนมด้วยหมูหวาน น้ำปลาหวานทานกับสะเดา เป็นต้น
จุดเด่นคือ อาหารภาคกลางมักจะมีการประดิษฐ์ สร้างสรรค์อย่างวิจิตรบรรจง ผัก และผลไม้มีการแกะสลักอย่างสวยงาม แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีศิลปะและวัฒนธรรมที่งดงาม

ภาคใต้
พื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล ประชากรส่วนใหญ่จึงนิยมทำประมง
ด้วยเหตุนี้อาหารหลักของภาคใต้จึงเป็นอาหารทะเลสด และนิยมใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหาร รสชาติจะเผ็ดร้อน เค็มและเปรี้ยว เช่น แกงไตปลา แกงส้ม และแกงเหลือง เป็นต้น
อาหารภาคใต้นิยมทานควบคู่กับผักเพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งเรียกว่า ผักเหนาะ เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอเป็นต้น
 

ภาคเหนือ
เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต มีขนบธรรมเนียม ประเพณีที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ
การรับประทานอาหารของทางภาคเหนือจะใช้โก๊ะข้าว หรือที่เรียกว่า ขันโตก แทน โต๊ะอาหาร โดยจะนั่งล้อมวงเพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน
คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก โดยอาหารของทางภาคเหนือจะเป็นอาหารที่สุกมากๆ และเป็นอาหารประเภทที่ผัดกับน้ำมันเป็นส่วนใหญ่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นดินแดนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำให้อาหารพื้นเมืองจึงเป็นอาหารพวกแมลงหลายชนิด ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตประชากรในภาคนี้
อาหารอีสานส่วนใหญ่จะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ส่วนพืชผัก และเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ประกอบอาหารได้มาจากภายในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่
อาหารอีสานมักใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารเกือบทุกชนิด แต่ไม่นิยมใส่ในอาหารประเภทผัด และมักรับประทานคู่กับผักสด

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความแตกต่างอาหารของแต่ละภาค

ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค          คนไทยแต่ละภาค รับประทานอาหารแตกต่างกัน ตามลักษณะพื้นที่ดินฟ้าอากาศ และความอุดมสมบูรณ์ เช่น พวกที่อยู่ริมทะเลรับประทานอาหารแบบหนึ่ง พวกที่ อยู่บริเวณที่มีอากาศหนาวหรืออากาศร้อนก็รับประทานอาหารอีกแบบหนึ่ง สิ่งหนึ่งที่คนไทยยังรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยทุกภาค คือ การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด โดยเฉพาะภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 


อาหารไทยภาคเหนือ
          อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้นว่า น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกแดง น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงฮังเล แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีอาหารพื้นเมือง เช่น แหนม ไส้อั่ว เนื้อนึ่ง จิ้นปิ้ง แคบหมู หมูทอด ไก่ทอดและผักต่างๆ

         คนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่นิยมเลย เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เนื้อหมู เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีขายทั่วไปในท้องตลาด เนื้อสัตว์อื่นที่นิยมรองลงมา คือ เนื้อวัว ไก่ เป็ด นก ฯลฯ สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล

         อาหารที่ชาวพื้นเมืองชอบรับประทานเล่นเป็นพวกแมลงที่รู้จักแพร่หลายคือ "แมงมัน" ซึ่งเป็นมดชนิดหนึ่งที่อยู่ในดิน แต่มีปีกบินได้ ปกติแมงมันจะอาศัยอยู่ในรู หลังจากฝนตกใหญ่ครั้งแรกประมาณ ๒-๓ วัน แมงมันจะออกจากรู ชาวบ้านจะไปจับมาคั่ว โดยใส่น้ำมันน้อยๆ คั่วให้กรอบ แล้วใส่เกลือเล็กน้อยก็ใช้เป็นอาหารได้ แมงมันจะมีให้จับมาคั่วเป็นอาหาร
ได้เพียงปีละครั้ง ปัจจุบันราคาแพงมาก

         แมลงอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "จี้กุ่ง" มีลักษณะเหมือนจิ้งหรีด ผิวหรือหนัง สีน้ำตาลแดง ใช้ทอดหรือชุบไข่ทอดเป็นอาหารได้

         ทางภาคเหนือมีผักเฉพาะที่นำมาปรุงอาหารต่างจากภาคอื่นๆ เช่น "ผำ" หรือไข่แหน หรือที่คนภาคกลางเรียกว่า "ไข่น้ำ" มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ เท่าไข่ปลา ลอยอยู่ในน้ำคล้ายจอกแหน วิธีนำมาปรุงอาหารคือ เอามาต้มให้สุก ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอม กระเทียม และกะปิ แล้วรับประทานกับข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว อาจใส่หมูหรือกุ้งสับละเอียดผสมลงไปด้วยก็ได้

         นอกจากนี้ก็มี "เตา" ซึ่งเป็นพืชน้ำอีกชนิดหนึ่งที่คนภาคกลางเรียกว่า "ตะไคร้น้ำ" ใช้เตาสดๆ หั่นฝอย แล้วใส่เครื่องปรุงต่างๆ เป็นยำ และยังมีผักแพะ คำว่า แพะ ตามความหมายของคนภาคเหนือหมายถึง "ป่าโปร่ง" ฉะนั้นผักแพะจึงหมายถึง ผักชนิดหนึ่งที่ขึ้นในป่าโปร่งนั่นเอง วิธีนำมาปรุงอาหาร คือ ใช้ยอดผักแพะสดๆ จิ้มน้ำพริกหรือจะนำมายำก็ได้

 

อาหารไทยภาคเหนือ


ข้าวซอย อาหารไทยอย่างหนึ่งของภาคเหนือ
อาหารไทยภาคกลาง
          โดยทั่วไปคนภาคกลางรับประทานอาหารที่มีรสกลมกล่อม มีรสหวานนำเล็กน้อย วิธีการปรุงอาหารซับซ้อนขึ้นด้วยการนำมาเสริมแต่ง หรือประดิดประดอยให้สวย งาม เช่น น้ำพริกลงเรือ ซึ่งดัดแปลงมาจากน้ำพริกกะปิ จัดให้สวยงามด้วยผักแกะสลัก เป็นต้น ลักษณะอาหารที่รับประทาน มักผสมผสานกันระหว่างภาคต่างๆ เช่น แกงไต ปลา ปลาร้า น้ำพริกอ่อง เป็นต้น

          ทุกบ้านจะรับประทานข้าวสวยเป็นหลัก อาหารเย็นมีกับข้าว ๓-๕ อย่าง ได้แก่ แกงจืด หรือแกงส้มหรือแกงเผ็ด ต้มยำ และอื่นๆ มีผัดจืด หรือผัดเผ็ด เช่น พะแนง มัสมั่นแห้ง ไก่ผัดพริก หรือยำ เช่น ยำถั่วพู ยำเนื้อย่าง อาหารประจำของคนไทยภาคกลางคือ ผัก น้ำพริก และปลาทู อาจจะมีไข่เจียว เนื้อทอด หรือหมูย่าง อีกจานหนึ่งก็ได้ โดยคำนึงถึงวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นหลัก

อาหารไทยภาคกลาง
อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
           อาหารจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ รับประทานกับลาบไก่ หมู เนื้อ หรือ ลาบเลือด ส้มตำ  ปลาย่าง ไก่ย่าง จิ้มแจ่ว ปลาร้า อาหารภาคนี้จะนิยมปิ้ง หรือย่างมากกว่าทอด อาหารทุกชนิดต้องรสจัด เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่ชาวบ้านหามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ งู หนูนา มดแดง แมลงบางชนิด ส่วนเนื้อหมู วัว ไก่ และเนื้อสัตว์อื่นๆ ก็นิยมตามความชอบ และฐานะ สำหรับอาหารทะเลใช้ปรุงอาหารน้อยที่สุด เพราะนอกจากจะหายากแล้ว ยังมีราคาแพงอีกด้วย

อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อาหารไทยภาคใต้
          อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น
         นอกจากนี้ ยังมีผักหลายชนิดที่คนภาคใต้นิยมรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์ของอาหารภาคใต้ ได้แก่

         ฝักสะตอ มีลักษณะเป็นฝักยาว สีเขียว เวลารับประทานต้องปอกเปลือกแล้วแกะเม็ดออก ใช้ทั้งเม็ดหรือนำมาหั่น ปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุก แล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริก หรือจะใช้สดๆ โดยไม่ต้องเผาก็ได้ ถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ควรดองเก็บไว้

         เม็ดเหรียง เป็นคำเรียกของคนภาคใต้ มีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต แต่หัวและหางใหญ่กว่ามาก สีเขียว เวลาจะรับประทานต้องแกะเปลือกซึ่งเป็นสีดำออกก่อน จะนำไปรับประทานสดๆ หรือนำไปผัดกับเนื้อสัตว์  หรือนำไปดองรับประทาน
กับแกงต่างๆ หรือกับน้ำพริกกะปิ หรือ กับหลนก็ได้

        ลูกเนียง  มีลักษณะกลม เปลือกแข็งสีเขียวคล้ำเกือบดำ ต้องแกะเปลือกนอก แล้วรับประทาน เนื้อใน ซึ่งมีเปลือกอ่อนหุ้มอยู่ เปลือกอ่อนนี้จะลอกออกหรือไม่ลอกก็ได้แล้วแต่ความชอบ ใช้รับประทานสดๆ กับน้ำพริกกะปิ หลนแกงเผ็ด โดยเฉพาะแกงไตปลา ลูกเนียงที่แก่จัดใช้ทำเป็นของหวานได้ โดยนำไปต้มให้สุกแล้วใส่มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย และน้ำตาลทรายคลุกให้เข้ากัน







อาหารไทยภาคใต้


ฝักสะตอ